เรื่อง หมู หมู ที่ไม่หมู จ้า

                   เรื่อง หมู หมู ที่ไม่หมู จ้า

คุณค่าจากเนื้อสัตว์ที่ไม่ควรมองข้าม

 

ขอบคุณรูปภาพจาก www.momtanaddak.com

     เนื้อหมูเป็นอาหารที่ให้สารอาหารประเภทโปรตีน จัดอยู่ในอาหารหลักหมู่ที่ 1 ที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย มีผลต่อการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยร่างกายของคนเรามีโปรตีนประมาณร้อยละ 20 ของน้ำหนักตัว  นอกจากเนื้อหมูจะมีคุณค่าให้โปรตีนแก่ร่างกายแล้ว ยังให้สารอาหารประเภท ไขมัน เกลือแร่ วิตามินบี 1 วิตามินเอ ไนอาซิน(วิตามินบี3) และฟอสฟอรัส 

คุณประโยชน์ของเนื้อหมู

 - วิตามินบี 1 ช่วยลดอาการเหน็บชา

 - วิตามินเอ บำรุงสายตา

 - ไนอาซิน(วิตามินบี3) และฟอสฟอรัส ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากไม่ว่าจะเป็นช่วยในการลดไขมัน ลดการอักเสบของผิวหนัง หรือแม้กระทั่งบำรุงสมอง

 - โปรตีนที่ดีในเนื้อหมูจะให้กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ชดเชยโปรตีนจากอาหารประเภทถั่วที่ร่างกายขาด

 - วิตามินบีที่มีอยู่จำนวนมากในเนื้อหมู จะกระตุ้นกระบวนการ metabolism กำจัดความเหนื่อยล้า

 - ป้องกันไม่ให้เส้นปลายประสาทอักเสบ

 - เหล็กจะช่วยผลิตเลือด ที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนและสารอาหาร ไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย ป้องกันโรคโลหิตจาง

 ...เรียกได้ว่าเปี่ยมคุณประโยชน์อย่างแท้จริง...

พลังงานและสารอาหารจาก Raw Pork ( เนื้อหมูดิบ )

คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อหมู

คุณค่าทางอาหาร  หน่วย  ชนิดของเนื้อหมู      100 กรัม
 ความชื้น  กรัม  50.10
 แคลเลอรี่  IU  376.00
 พลังงาน  KCAL  242.1
 ไขมัน  IU  -
 คาร์โบไฮเดรต  กรัม  -
 แคลเซียม  กรัม  8.00
 โปรตีน  กรัม  27
 ฟอสฟอรัส  กรัม  151.00
 เหล็ก  มิลลิกรัม  2.10

 

 

ขอบคุณรูปภาพจาก www.bangkokhospital.com

   น้ำ ปริมาณน้ำในอาหารที่ได้มาจากเนื้อหมูจะมีผลต่อลักษณะต่างๆของเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์ด้วย เช่น ความเต่ง ความนุ่ม รสชาติและลักษณะเนื้อสัมผัสของเนื้อหมู

  โปรตีน เนื้อหมูจัดเป็นอาหารที่มีโปรตีนชนิดสมบูรณ์ซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโนที่ จำเป็นต่อร่างกาย(essential amino acid) ที่มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ได้ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย ดังนั้น โปรตีนจากเนื้อหมูจึงจัดเป็นโปรตีนที่มีคุณค่าสูง นอกจากจะประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วนแล้ว ยังมีคุณสมบัติถูกย่อยได้ดี ร่างกายจึงสามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย 

 

กรดอะมิโน ประเภทกรดอะมิโน

ปริมาณเนื้อหมู

(กรัม ต่อ 100 กรัมของส่วนที่บริโภคได้)

ไอโซลูซีน กรดอะมิโนที่จำเป็น 1.0
ลูซีน กรดอะมิโนที่จำเป็น 1.5
ไลซีน กรดอะมิโนที่จำเป็น 1.5
เมทิโอนีน กรดอะมิโนที่จำเป็น 0.4
เฟนิลอะลานีน กรดอะมิโนที่จำเป็น 0.8
ธรีโอนีน กรดอะมิโนที่จำเป็น 1.0
ทริปโตเฟน กรดอะมิโนที่จำเป็น 0.2
วาลีน กรดอะมิโนที่จำเป็น 1.0
อาร์จินีน

กรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับเด็ก

1.3
ฮิสทิดีน

กรดอะมิโนที่จำเป็น

สำหรับเด็ก

0.7
อะลานีน กรดอะมิโนที่จำเป็น 1.2
กรดแอสพาร์ติก กรดอะมิโนที่จำเป็น 1.7
กรดกลูตามิก กรดอะมิโนที่จำเป็น 2.9
ไกลซีน กรดอะมิโนที่จำเป็น 1.2
โพรลีน กรดอะมิโนที่จำเป็น 0.9
ซีรีน กรดอะมิโนที่จำเป็น 0.7
ซีสทีน กรดอะมิโนที่จำเป็น 0.2
ไทโรซีน กรดอะมิโนที่จำเป็น 0.6

 

 

ขอบคุณรูปภาพจาก www.angeltrendy.com

 

   ไขมัน ปริมาณไขมันที่มีในเนื้อหมูขึ้นอยู่กับตำแหน่งของชิ้นเนื้อและปริมาณไขมันที่มีอยู่บนชิ้นเนื้อที่ได้ภายหลังการตัดแต่ง ไขมันในเนื้อหมูที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ได้แก่ ไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟไลปิด คอเลสเทอรอล และ วิตามินที่ละลายในไขมัน ในเนื้อสัตว์บางชนิดจะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็นต่อร่างกายค่อนข้างสูง ได้แก่ กรดอะราคิโดนิก (arachidonic acid) กรดลิโนเลอิก (linoleic acid) และกรดลิโนเลนิก (linolenic acidส่วนคอเลสเทอรอล จัดเป็นสารประกอบไขมันที่สำคัญชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในไขมันหมูซึ่งมีมากในสมองและเนื้อเยื่อประสาท 

 

กรดไขมัน

(ร้อยละของทั้งหมด)

 
ปาล์มิติก 28
สเตรียริก 13
ปาร์มิโตลีอิก 3
โอลีอิก 46
ลิโนลีอิก 10
ลิโนลีนิก 0.7
อะราคิโดนิก 2

 

 

  คาร์โบไฮเดรต โดยทั่วไปเนื้อหมูมีคาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบอยู่ไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ ไกลโคเจน และกรดแลกติก ส่วนไกลโคเจนมักพบสะสมมากที่บริเวณ ตับ ดังนั้นเนื้อหมูจึงไม่ได้เป็นแหล่งที่ให้คาร์โบไฮเดรตแก่ร่างกาย


   วิตามินและแร่ธาตุ เนื้อหมูเป็นแหล่งของวิตามินบีคอมเพลกส์โดยเฉพาะวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอะซิน วิตามินบี 6 และวิตามินบี 12 พบว่า ในสุกรมีปริมาณวิตามินบี 1 ประมาณ 8- 10 เท่าของเนื้อหมูชนิดอื่นๆ ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณวิตามินในเนื้อหมูคือความอ้วนของหมูเนื่องจากวิตามินบีคอมเพลกส์เป็นวิตามิน ที่ละลายได้  ในน้ำจึงมักพบอยู่ในส่วนของเนื้อแดง ถ้าหมูอ้วนมากก็จะมีส่วนของไขมันมากขึ้นแต่ส่วนของเนื้อแดงจะลดลง จึงทำให้มีวิตามินบีรวมในระดับต่ำ กว่าสัตว์ ที่มีกล้ามเนื้อมากในเนื้อสุกมักมีวิตามินบีรวมอยู่ในปริมาณ ที่สูงกว่าเนื้อสด เนื่องจากถูกระเหยของน้ำออกไปจากก้อนเนื้อ ในขณะทำให้สุก

 

เนื้อหมู มิลลิกรัม/100กรัม
วิตามินบี1 0.76
วิตามินบี2 0.18
ไนอะซิน 4.1



   แคลเซียม ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียม จะสูญเสียออกมาในขณะทำให้สุก โซเดียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมจะสูญเสียออกมากับน้ำบ้าง ดังนั้น การหุงต้มจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณแร่ธาตุของเนื้อได้ เนื่องจากการใช้ ความร้อน ทำให้ส่วนของน้ำในเนื้อสูญเสียไปจึงทำให้ปริมาณโปรตีน ไขมัน และพลังงานที่ได้เพิ่มมากขึ้น

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก..

http://thaiinnofood.com

https://www.siamzoneza.com

http://www.calforlife.com

http://www.calforlife.com

 

 

 

 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2